เคลียร์สินค้า - รวบรวมคำศัพท์หลักๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งทางเรือ

  • 27 Mar 2023
รวบรวมคำศัพท์หลักๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งทางเรือ
ธุรกิจการขนส่งสินค้า เป็นธุรกิจที่มีคำศัพท์เฉพาะทาง รวมถึงมีคำย่อมากมาย สำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มทำธุรกิจการนำเข้า-ส่งออกสินค้า อาจจะยังไม่เข้าใจในความหมายของคำศัพท์สำคัญ หลายๆคำ ทางเราจึงได้รวบรวมคำศัพท์หลัก ๆ ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทั้งทางเรือมาไว้ให้ค่ะ เพื่อใช้เป็นความรู้ในการสื่อสาร เจรจา หรือเตรียมเอกสารต่างๆ ในการขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ARRIVAL NOTICE – เอกสารแจ้งหรือใบแจ้งว่าเรือได้มาถึง
AMENDMENT – การเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ไข
B.A.F.(BUNKER ADJUSTMENT FACTOR) – ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือเรียกเก็บเพิ่มเติมจากค่าระวางปกติ
BERTH – หมายถึงท่าเทียบเรือ หรือ การเทียบท่า
BILL OF LADING – ใบตราส่งสินค้าทางเรือ
BREAK-BULK CARRIER – เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนสินค้าที่เป็นหีบห่อหรือสินค้าที่เป็นชิ้น เช่น เหล็ก รถยนต์
BULK CARGO – สินค้าเทกอง คือสินค้าที่ขนส่งคราวละมากๆ โดยไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า ใช้วิธีขนส่งโดยเทสินค้าลงในระวางเรือใหญ่ เช่น ปุ๋ย มันสำปะหลัง น้ำตาล ถ่านหิน
BULK CARRIER – เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนสินค้าประเภทเทกองและสินค้าที่เป็นของเหลว
C.A.F.(CURRENCY ADJUSTMENT FACTOR) – ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือเรียกเก็บเพิ่มเติมจากค่าระวางปกติ
CARRIER – สายเดินเรือที่ทำการขนส่งสินค้า
CARRIER’S AGENT – ตัวแทนผู้รับขนส่งผู้ออกใบตราส่ง
CFS (CONTAINER FREIGHT STATION) – สถานี บรรจุ / ส่งมอบ สินค้าที่ต้นทาง ผู้ส่งออกต้องนำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ตัวแทนสายเดินเรือ ณ ที่ทำการของตัวแทนสายเดินเรือ ซึ่งตัวแทนสายเดินเรือจะทำการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยตนเอง โดยจะต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ได้รับจากผู้ส่งออกจนกระทั่งสินค้าส่งไปถึงเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือจะเรียกเก็บค่าบรรจุตู้ (CFS Charge) จากผู้ส่งออก ที่ปลายทาง ตัวแทนเรือจะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่ทำการหรือสถานีบริการของตัวแทนเรือ ตัวแทนเรือจะเรียกเก็บค่าเปิดตู้(CFS Charge) จากผู้นำเข้า
CFS/CFS – B/L ที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบ CFS ที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบ CFS หรือการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ ณ ที่ทำการของตัวแทนสายเดินเรือ ผู้นำเข้าบรรทุกสินค้าไปกับรถบรรทุก
CY (CONTAINER YARD) – สถานี ส่งมอบ / รับมอบ ตู้สินค้าที่ต้นทาง ผู้ส่งออกต้องขอรับตู้คอนเทนเนอร์จากตัวแทนเรือเพื่อนำไปบรรจุสินค้าด้วยตนเอง ณ สถานประกอบการของผู้ส่งออกเอง ผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบในสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จนกระทั่งสินค้าส่งไปถึงเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือจะระบุใน B/L ว่า Shipper loaded and counted แต่จะไม่เรียกเก็บค่าบรรจุตู้จากผู้ส่งออกที่ปลายทาง ตัวแทนเรือจะส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่ทำการหรือสถานีบริการของตัวแทนเรือ ตัวแทนเรือจะไม่เรียกเก็บค่าเปิดตู้จากผู้นำเข้า
CY/CY – B/L ที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบ CY ที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบ CY
CFS/CY – B/L ที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบ CFS ที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบ CY ผู้นำเข้าลากตู้คอนเทนเนอร์ไปขนถ่ายสินค้ายังสถานประกอบการของผู้นำเข้าเอง
CHARGEABLE WEIGHT – น้ำหนักสินค้าที่ใช้คำนวณค่าระวาง
CHARTERER – เรือจรเช่าเหมาลำที่ไม่มีการกำหนดเส้นทางและตารางเดินเรือที่แน่นอนตายตัว
CLEAN ON BOARD / CLEAN SHIPPED ON BOARD – เป็นคำที่ระบุใน B/L โดยทั่วไป มีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือแล้ว โดยสินค้าอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย คำว่า Clean มีความหมายว่าสินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น B/L ต้องไม่มี Remark หรือหมายเหตุว่าสินค้าอยู่ในสภาพที่ไม่เรียบร้อย
CO-LOADER – ตัวแทนโหลดหลักสำหรับขนส่งแบบLCL
COMBINED TRANSPORT BILL OF LADING – ใบตราส่งสินค้า สำหรับการขนส่งหลายวิธีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทเรือ เช่นขนส่งโดยเรือแล้วไปต่อรถไฟจนถึงปลายทาง
COMMERCIAL; INVOICE – ใบแสดงยืนยันรายการสินค้าและราคาออกโดยผู้ขาย
CONSIGNEE – ผู้รับตราส่งสินค้า : กรณีซื้อขายโดย L/C จะระบุตามแต่เงื่อนไขใน L/C ว่า TO ORDER หรือระบุเป็นชื่อธนาคารผู้เปิด L/C  กรณีซื้อขายตรงโดยไม่ผ่านธนาคารจะระบุชื่อผู้รับสินค้าโดยตรง
CONSOLIDATION – การรวบรวมสินค้า หรือการรวมสินค้า โดยปกติจะกระทำโดยตัวแทนของผู้ซื้อสินค้า
CONTAINER AND SEAL NO. – หมายเลขตู้สินค้าและหมายเลขแถบผนึกตู้สินค้า
CONTAINER CARRIER – เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนส่งสินค้าด้วยตู้สินค้า
CONVENTIONAL VESSEL – เรือเดินสมุทรแบบดั้งเดิมที่บรรทุกสินค้าลงในระวางเรือใหญ่โดยตรง
DELIVERY ORDER(D/O) – ใบสั่งปล่อยสินค้า
DEMURRAGE CHARGE – ค่าเสียเวลาของเรือ หรือค่าเสียเวลาของตู้สินค้าที่ไม่สามารถนำออกจากท่าได้ตามเวลาที่กำหนด
DESCRIPTION OF GOODS – รายการสินค้า
DESPATCH MONEY – เงินที่บริษัทเรือจ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ใช้เรือเมื่อทำงานได้แล้วเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่ใช้กับเรือจรเช่าเหมา
DETENTION – ค่าใช้จ่ายในการนำตู้สินค้าออกไปนอกท่าเรือ แล้วนำกลับมาคืนล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
DIVERSION – การขอเปลี่ยนเมืองท่าปลายทางของสินค้าในระหว่างหรือก่อนการขนส่ง
DOC. FEE – ค่าเอกสาร
DOOR TO DOOR – การรับมอบสินค้าจากสถานที่ตั้งของผู้ส่งออก และส่งมอบสินค้าไปถึงสถานที่ตั้งของผู้นำเข้า
E.T.A. (ESTIMATE TIME OF ARRIVAL) – ประมาณการของวันที่ที่เรือจะเข้าถึงท่าปลายทาง
E.T.D. (ESTIMATE TIME OF DEPARTURE) – ประมาณการของวันที่ที่เรือจะออกจากท่าต้นทาง
FCL (FULL CONTAINER LOAD) – คือการบรรจุสินค้าจนเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการนำเข้าหรือส่งออกแบบ CFS และ CY
FEU (FORTY FOOT EQUIPVALENT UNIT) – ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต
FREETIME – ระยะเวลาปลอดค่าใช้จ่าย
FREIGHT COLLECT /PAYABLE AT DESTINATION – ค่าระวางจ่ายที่เมืองท่าปลายทาง
FREIGHT FORWARDER – ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า
FREIGHT PREPAID/FREIGHT PAID – ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง
GENERAL AVERAGE (G.A.) – ความรับผิดชอบในการผจญภัยร่วมกันของสินค้าที่อยู่ในเรือลำเดียวกันซึ่งขนส่งมาด้วยกัน ในกรณีที่ต้องสละสินค้าบางส่วนเพื่อความปลอดภัยของเรือและสินค้าส่วนที่เหลืออยู่บนเรือ
GROSS WEIGHT – น้ำหนักรวมของสินค้า
HAZARDOUS GOODS – สินค้าอันตราย
I.C.D. (INLAND CONTAINER DEPOT) – คือสถานีตู้สินค้าICD ที่มีพิธีการศุลกากรทั้งสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก เรียกว่า โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นอกเขตทำเนียบท่าเรือ (รพท.) ICD ที่มีพิธีการศุลกากรเฉพาะสินค้าขาออก เรียกว่าสถานีตรวจและบรรจุสินค้าที่เข้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก (สตส.)
INLAND TRANSIT – การขนส่งภายในประเทศ  จะเป็นการขนส่งเพื่อนำสินค้าไปขึ้นเรือใหญ่ที่เมืองท่าต้นทาง หรือการรับส่งสินค้าจากเรือใหญ่ที่เมืองท่าปลายทางก็ได้
L/C(LETTER OF CREDIT) – การชำระสินค้าผ่านธนาคาร
LCL (LESS THAN CONTAINER LOAD) – คือการบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกแบบ CFS เท่านั้น
LINER – เรือที่มีการกำหนดเส้นทางและตารางเดินเรือที่แน่นอนตายตัวส่วนใหญ่ได้แก่เรือคอนเทนเนอร์
MANIFEST – บัญชีสินค้าที่บรรทุกมากับเรือ
MARK & NO. – เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อของสินค้า
MASTER – หมายถึงกัปตันเรือหรือผู้ควบคุมเรือ
MATE’S RECEIPT – ใบรับสินค้าในเบื้องต้นจากต้นหนของเรือเดินสมุทร เป็นหลักฐานที่จะนำไปให้บริษัทตัวแทนเรือออกใบตราส่งสินค้า
MEASUREMENT/ GROSS WEIGHT – ขนาดของหีบห่อและน้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ของสินค้า สำแดงเฉพาะยอดรวมเท่านั้น
MULTIMODAL TRANSPORT DOCUMENT – ใบรับสินค้าขนส่งหลายทอดหรือหลายรูปแบบ เป็นเอกสารที่ผู้รับขนส่งออกให้แทนใบตราส่งสินค้าทางเรือ ในกรณีที่สินค้าที่รับขนส่งนั้นมีการขนส่งหลายทอด เช่นขนจากโรงงานต้นทางด้วยรถยนต์ไปต่อเรือเดินสมุทรแล้วขนส่งโดยทางรถไฟที่ปลายทางอีกทอดหนึ่งจากนั้นจึงนำขึ้นรถบรรทุกไปส่งยังสถานที่ปลายทาง เป็นต้น
N.V.O.C.C. (NON-VESSEL OPERATION COMMON CARRIER) – คือผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือหรือไม่มีเรือเป็นของตนเอง
NOTIFY PARTY- ผู้รับสินค้า หรือผู้รับโอนสิทธิ์ในสินค้าจาก Consignee
NUMBER OF ORIGINAL – จำนวนต้นฉบับของ B/L โดยทั่วไปจะมี 3 ใบ
O.C.P.(OVERLAND COMMON POINT) – สถานที่ส่งมอบสินค้าปลายทางที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
PACKING LIST – รายการบรรุภัณฑ์(การบรรจุ นำหนัก จำนวนสินค้า) ออกโดยผู้ขาย
PLACE AND DATE OF ISSUED – สถานที่และวันที่ที่ออกใบตราส่งสินค้า
PLACE OF DELIVERY – สถานที่สุดท้ายที่จะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ อาจเป็นคลังสินค้า ณ เมืองท่าปลายทาง หรือคลังสินค้า / สถานที่ทำการของผู้ซื้อที่อยู่ในอีกเมืองหนึ่งหรือในอีกประเทศหนึ่งก็ได้
PLACE OF LOADING – สถานที่ต้นทางที่ส่งออก
PLACE OF RECEIPT – สถานที่รับสินค้าต้นทาง อาจเป็นคลังสินค้าของผู้ซื้อที่เมืองท่าต้นทาง หรือเป็นท่าเรือส่งออกที่ต้นทาง
PORT OF DISCHARGE – เมืองท่าปลายทาง / เมืองท่าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือ
PORT OF LOADING – เมืองท่าต้นทางที่ส่งออก
PRE-CARRIER – ชื่อเรือเล็กที่ขนสินค้าไปขึ้นเรือใหญ่ ณ เมืองท่าที่เรือใหญ่มารับขนถ่ายสินค้าจากเรือเล็กอีกทอดหนึ่ง
PROFORMA INVOICE – ใบแจ้งรายละเอียดสินค้าและราคาออกโดยผู้ซื้อ
QUANTITY AND KIND OF PACKAGES – จำนวนและลักษณะหรือชนิดของหีบห่อ
RO-RO CARRIER – เรือเดินสมุทรชนิดที่ขนสินค้าขึ้นและลงจากเรือด้วยสายพาน เช่นเรือบรรทุกรถยนต์
SURRENDER BILL OF LADING – ใบตราส่งสินค้าที่ผู้รับใบตราส่ง สามารถขอรับใบสั่งปล่อยสินค้าที่ปลายทางได้โดยไม่ต้องใช้ใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ
SHIPPED ON BOARD – เป็นคำที่ระบุใน B/L โดยทั่วไป มีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
SHIPPER – ผู้ส่งสินค้า
SHIPPING AGENT / SHIP AGENT – ตัวแทนเรือ
SHIPPING MARKS – สัญลักษณ์/เครืองหมาย/ป้ายกำกับสินค้า
SHIPPING PARTICULAR/ SHIPPING ORDER/ SHIPPING INSTRUCTION – ใบจองเรือที่ผู้ส่งออกจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อตัวแทนสายเดินเรือจะได้นำรายละเอียดต่างๆ ไปจัดทำใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก
SHUOLD BE – การขอแก้ไขเอกสารและบัญชีเรือ
T.H.C.(TERMINAL HANDLING CHARGE) – ค่าใช้จ่ายหน้าท่า หรือค่ายกตู้สินค้า
TALLY SHEET – เอกสารบันทึกการรับสินค้าของตัวแทนเรือ
TEU (TWENTY FOOT EQUIVALENT UNIT) – ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต
THROUGH BILL OF LADING – ใบตราส่งสินค้า สำหรับการขนส่งด้วยเรือตลอดเส้นทาง
UN CLASSIFICATION NUMBER – หมายเลขรหัสของสินค้าอันตราย ที่เป็นหมายเลขและมาตรฐานการป้องกันอันเป็นสากล
V.O.C.C. (VESSEL OPERATING COMMON CARRIER) – เรือเดินสมุทรที่ผู้ประกอบกิจการเป็นเจ้าของเรือด้วย
VESSEL / STEAMER/ CARRIER – ชื่อเรือใหญ่ที่เดินทางไปยังเมืองท่าปลายทาง
VOY.NO. / VOYAGE NO. – เที่ยวเรือ
 
ที่มา : http://www.march.co.th/freight-shipping-logistics-terminology/

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.