HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร?

  • 17 Feb 2021


HS CODE ของสินค้าเช็คอย่างไร?

ก่อนที่เราจะหา HS CODE ของสินค้า ผู้นำเข้าควรทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อน คือ HS CODE (Harmonized System) หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภท และระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 8 หลัก ซึ่งประกาศใช้โดยคณะมนตรีพิกัดฯ ขององค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) และระบบนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) จึงได้นำมาใช้เป็นสากลทางการค้าระหว่างประเทศ จำแนกประเภทสิ่งของต่างๆ ออกเป็น 21 หมวด, 97 ตอน และกว่า 5,000 ประเภทพิกัด

HS CODE (Harmonized System) ที่ใช้ในงานศุลกากร หมายถึง ตัวเลข 11 ตัวที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ เพื่อใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของพิกัด ประกอบไปด้วยตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติ ซึ่งสามารถแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้

1. เลข 4 ตัวแรก
มาจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร จะเป็นประเภท (Heading No.) แยกเป็น
2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ “ตอน”
2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ “ประเภท” ที่อยู่ในตอนนั้น
ตัวอย่างเช่น ตอนที่ 29 กำหนดให้เป็นเคมีภัณฑ์อินทรีย์ และประเภทที่ 29.07 คือ ฟีนอลและฟีนอลแอลกอฮอลล์

2. เลข 4 ตัวต่อมา
เป็นลำดับของ “ประเภทย่อย” (Subheading No.) ประกอบไปด้วย
เลข 2 ตัวแรก เป็นเลข 2 ตัวที่เหลือจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร
เลข 2 ตัวหลัง เป็นประเภทย่อยระบบพิกัด
เลข 2 ตัวหลังนี้ เช่น ประเทศไทยใช้ระบบพิกัดศุลกากรอาเซียน (CEPT Code / the AHTN Protocol) ก็จะเป็นเลขขอพิกัดนี้ เมื่อรวมกับข้อ 1 จะเป็น 8 ตัว (ส่วนใหญ่เป็นเลข 8 ตัว) ตัวอย่างเช่น 2907.10.00 คือ ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซิน)

3. เลข 3 ตัวสุดท้าย
คือ เลขรหัสสถิติ (Statistics code) ซึ่งเป็นรหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) โดยตัวเลข 3 หลักสุดท้าย จะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ทำให้รวมแล้วมี 11 ตัว (มาจากข้อ 1 และข้อ 2 แล้วต่อท้ายอีก 3 ตัวนั่นเอง)
แต่ถ้าประเภทย่อยมีเพียง 7 ตัว ก็ให้ใส่ตำแหน่งที่ 8 เป็น 0 และเราจะได้ตามตัวอย่าง เช่น 2907.10.00 101 / KGM คือ ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซิน)
ที่ต่อท้ายมากับเลขชุด 11 หลักของพิกัดรหัสสถิติ คือ รหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) ส่วนใหญ่จะเป็น KGM (กิโลกรัม) ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ C62 (ชิ้นหรือหน่วย), LTR (ลิตร), MTR (เมตร), MTK (เมตริกตัน) เป็นต้น

การเช็ค HS CODE ของสินค้า

1. โทรสอบถามกับกรมศุลกากร 02-667-7000 หรือ 1164 โดยแจ้งรายละเอียดของสินค้า เช่น สินค้าคืออะไร, ทำมาจากอะไร, นำมาผลิตอะไร, วัสดุที่ทำมาจากอะไร หรือสินค้านำมาใช้ทำอะไร เนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างที่ไม่เหมือนกัน ทางผู้นำเข้าจะต้องแจ้งโดยละเอียดเพื่อให้ได้ HS CODE ที่ถูกต้องและใกล้เคียงที่สุด

2. เช็คได้จาก website กรมศุลกากร ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร สามารถนำ HS CODE จากข้อ 1 เพื่อนำมาตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งได้



3. HS Check Application กรมศุลกากร ผ่านทาง Mobile Application

4. สอบถามจากทางผู้ขาย โดยปกติต้นทางก็จะมีการใช้ HS CODE ในการส่งออกเหมือนกับการส่งออกในไทย ผู้นำเข้าสามารถสอบถามจากทางผู้ขายได้ แต่จะมีสินค้าบางชนิดจะต้องทำการตรวจสอบอีกรอบ เนื่องจากแต่ละประเทศใช้ HS CODE ของสินค้าบางชนิดที่แตกต่างกัน อาจจะผิดที่เลข 4 ตัว ประเภทย่อยของสินค้าก็ได้

5. สามารถ ค้นหาจาก Google โดยพิมพ์ชื่อของสินค้า และต่อท้ายด้วย HS CODE จะทำให้ทราบ HS CODE เบื้องต้น แต่ผู้นำเข้าจำเป็นจะต้องนำ HS CODE ที่ได้มานั้นตรวจสอบกับ website กรมศุลกากร ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร อีกครั้งหนึ่ง โดยพิมพ์ HS CODE เข้าไปเพื่ออ่านรายละเอียดของ HS CODE นั้นๆ ว่าตรงกับสินค้าของเราหรือไม่

หากผู้นำเข้าไม่แน่ใจในตัวพิกัดสินค้าที่ต้องการนำเข้าและต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมงาน Lissom Logistics ได้ครับ ทีมงานของเราพร้อมให้บริการครับ

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.