การนำเข้ามันสำปะหลัง

  • 08 Sep 2020
การนำเข้ามันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง (Cassava)(ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta Crantz) เป็นสิ่งต้องห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนดพืชและพาหะจากแหล่งที่กําหนด  เป็นสิ่งต้องห้าม ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ สาเหตุที่มันสำปะหลังเป็นสิ่งต้องห้าม เพื่อป้องกันศัตรูพืชในการแพร่ระบาดหรือพาหะของโรคใบด่างในมันสำปะหลัง ที่จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกร
การนำเข้ามันสำปะหลังต้องปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการนําเข้าหรือนำผ่าน ซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัดและสิ่งไม่ต้องห้าม พ.ศ. ๒๕๕๑
การลักลอบนำเข้ามันสำปะหลัง  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน​ 1​ ปี​ หรือปรับไม่เกิน​ 20,000​ บาท​ หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขอบเขตการควบคุม
1. มันสำปะหลัง หมายถึง รากหรือหัวของมันสำปะหลัง ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 0714.10
2. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หมายถึง มันสำปะหลังที่แปรสภาพแล้ว เป็นมันเส้น มันอัดเม็ด ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 0714.10

ส่วนของมันสำปะหลังที่อนุญาตให้นำเข้าจากต่างประเทศ
1.มันเส้น นำเข้าได้จากประเทศ พม่า กัมพูชา ลาว
2.หัวมันสด นำเข้าได้จากประเทศ พม่า กัมพูชา ลาว
3.มันป่น นำเข้าได้จากประเทศ ลาว
4.หัวสำหรับบริโภค นำเข้าได้จากประเทศ จีน

หลักเกณฑ์ที่ผู้นำเข้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง  ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและต้องแจ้งการนำเข้าต่อกรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานอื่นที่กรมการค้าต่างประเทศมอบหมายก่อนนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศประกาศกำหนด  โดยนำใบแจ้งการนำเข้าดังกล่าวแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
(2) ต้องเก็บมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่นำเข้าไว้ในสถานที่เฉพาะแยกจากสถานที่เก็บมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่รับซื้อภายในประเทศ
(3) ต้องรายงานการนำเข้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศประกาศกำหนด
(4) ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามมาตรา 17 (1) แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
(5) ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป กำหนดให้การนำเข้ามาในราชอาณาจักร   ซึ่งมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังต้องนำเข้าทางจังหวัดและด่านศุลกากรกับจุดที่กำหนด
 
วิธีการนำเข้ามันสำปะหลังมี 2 ขั้นตอน
1.การนำเข้าต้องมีการขอ Username และ Password ผ่านระบบ NSW
1.1 ผู้ประกอบการยื่นคำขอและแนบเอกสารประกอบการขออนุญาต แก่เจ้าหน้าที่
1.2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและกำหนด Username และ Password ให้กับ ผู้ประกอบการ
1.3 ผู้ประกอบการนำ Username และ Password ไปใช้ในการยื่นขอใบอนุญาต และแจ้งนำเข้าสินค้าเกษตร ผ่าน ระบบ NSW (National Single Window)
2 ขอแบบฟอร์มคำขออนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า (พ.ก.2)
2.1 กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
 (1) แบบฟอร์มการขอ USERNAME และ PASSWORD
 (2) แบบฟอร์มคำขออนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า (พ.ก.2)
 (3) สำเนาบัตรประจำตัว หรือหนังสือเดินทาง
2.2 กรณีที่เป็นนิติบุคคล
(1) แบบฟอร์มการขอ USERNAME และ PASSWORD
(2) แบบฟอร์มคำขออนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้า (พ.ก.2)
(3) สำเนาบัตรประจำตัว หรือหนังสือเดินทาง สำเนา  Visa และ Work Permit ของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
(4) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) อายุไม่เกิน 6 เดือน
(5) หนังสือมอบอำนาจในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการพร้อมติดอากรแสตมป์
(6) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจและของพยานทั้ง 2 คน

เอกสารที่ไว้ใช้สำหรับการเคลียร์สินค้า

1. ใบอนุญาตนำเข้าสิ่งต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการค้า (พ.ก.2.1)
2. ใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary certificate : PC)
3. ใบกำกับราคาสินค้า (INVIOCE)
4. ใบกำกับหีบห่อสินค้า (PACKING LIST : PL)
5. ใบแจ้งนำเข้าสิ่งต้องห้าม สิ่งกำกัด และสิ่งไม่ต้องห้าม (พ.ก.5)
6. หนังสืออนุญาตให้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (พ.ก.6)
7. ประทับตราลงในใบขน

แหล่งที่มา : https://bit.ly/3bg94evhttps://bit.ly/3gX2LhA

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.