SHIPPING MARK คืออะไร? และมีความสำคัญอย่างไร ?

  • 11 May 2020


เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Mark) คือ ข้อความ สัญลักษณ์ หรือตัวเลข ที่ระบุไว้บนแต่ละหีบห่อของสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้านั้นเป็นของตามใบตราส่งสินค้า ( Bill of Lading - B/L) และเพื่อให้กระบวนการขนส่งในทุก ๆ ขั้นตอนเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและไม่เกิดความสับสน หรือความล่าช้า ในระหว่างต้นทางและปลายทาง รวมไปถึงความปลอดภัยของสินค้าระหว่างขนส่ง ดังนั้นแต่ละหีบห่อของสินค้าจึงควรมีเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Mark) อย่างถูกต้องและครบถ้วน และควรระบุไว้ในเอกสารนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น commercial invoice, B/L และ packing list
 
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 211 บัญญัติว่า “ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกผู้ใดไม่จัดให้มีเครื่องหมายหรือเลขหมายกำกับหีบห่อหรือภาชนะบรรจุของ หรือไม่แสดงเครื่องหมายหรือเลขหมายไว้ในเอกสารที่เกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท”
 ประกาศกรมศุลกากรที่ 132/2561 เรื่อง คู่มือการผ่านพิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสำหรับการนำเข้า (e-Import) ได้ระบุถึง เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Marks) ดังนี้
 เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Marks) ต้องสำแดงเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ ให้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจะต้องตรงกับใบตราส่งสินค้า โดยให้สำแดง ดังนี้
u ถ้าเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อเป็นข้อความให้บันทึกเป็นข้อความตามจริง หากเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อมีความยาวเกิน 512 ตัวอักษร ให้บันทึกเพียง 512 ตัวอักษรได้
u ถ้าเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อเป็นข้อความที่เป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถบันทึกข้อความนั้นได้ เช่น ภาษาจีน ให้ระบุคำว่า “PICTURE”
u ถ้าเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อเป็นรูปภาพให้ระบุคำว่า “PICTURE”
 
กรณีผ่อนผันไม่ต้องสำแดงเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ (Shipping Marks) ในการจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าให้ระบุคำว่า “NO SHIPPING MARK” แทนได้ สำหรับกรณี ดังต่อไปนี้
l กรณีหีบห่อของใช้ส่วนตัวตาม ประเภทที่ 5 ภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เช่น เสื้อผ้า หนังสือ รองเท้า
l กรณีหีบห่อของที่ได้รับเอกสิทธิ์ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อองค์การสหประชาชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามสัญญากับนานาประเทศ เช่น ของที่ได้รับบริจาค
l ของที่มิได้บรรจุหีบห่อ เช่น รถยนต์ ยางรถยนต์ รางรถไฟ ลวด โลหะเป็นแท่งหรือก้อนกระดาษพิมพ์หนังสือเป็นม้วน กระเบื้อง
l ของเหลวบรรจุในขวดใหญ่และมีวัตถุถักหุ้มขวด  เช่น น้ำกรด
l ของที่มาเป็นกอง เช่น ถ่านหิน
l ของที่บรรจุหีบห่อเดียว
l ของที่บรรจุในหีบห่อที่เป็นมาตรฐานเดียว (Standard Packing) เช่น ลังไม้ หรือลังกระดาษที่มีขนาดกว้างยาวเท่ากัน ของที่บรรจุมีจำนวนเท่ากัน เช่น นมสด สุรา เบียร์ อาหารปนแป้ง วิทยุ
l ของที่มาเป็นถังเหล็กหรือถังไฟเบอร์ (Drum or Fiber Drum) ที่มีลักษณะขนาด น้ำหนัก และจำนวนของที่บรรจุเท่ากัน เช่น จุกขวด น้ำยาดับกลิ่น น้ำมันเครื่อง สีทา
l ของที่บรรจุมาในถุงกระดาษหรือกระสอบ ที่มีลักษณะขนาด น้ำหนัก และจำนวนของที่บรรจุเท่ากัน เช่น ปุ๋ย แอมโมเนีย แป้ ง ข้าวสาลี หิน กากเพชร น้ำตาล
l ของที่บรรจุมาในหีบโปร่ง (Crate) เช่น เครื่องยนต์
 
ข้อความที่ควรระบุใน Shipping mark
  • ชื่อผู้ส่งออก เช่น ABC CO., LTD.
  • ยี่ห้อสินค้า เช่น Brand…
  • รายละเอียดสินค้า เช่น Machine for Motorcycle, PP mat
  • ชนิด ขนาด น้ำหนัก เช่น Carton , Pallet , Weight
** ให้ระบุลำดับหีบห่อและจำนวนหีบห่อทั้งหมดให้ชัดเจน เช่น กล่องที่ 1-10 , กล่องที่ 2-10 ไปจนถึง กล่องที่ 10-10 เพื่อความสะดวกและความถูกต้องในการตรวจนับสินค้า
  • ประเทศผู้ผลิต เช่น Made in Thailand , Made in China
ข้อควรระวังของการทำ Shipping mark
  • ห้ามเขียนด้วยลายมือลงแพคเกจสินค้าโดยตรง ควรพิมพ์ใส่กระดาษสีขาวหรือสติกเกอร์ แล้วแปะไว้ขางใดข้างหนึ่งของแพคเกจสินค้า
  • ควรระบุประเทศต้นทางทุกครั้ง เพราะมีความสำคัญมากในการสั่งปล่อยสินค้า ในกรณีที่สินค้ามีการขอลดหน่อยภาษี เช่น ฟอร์มต่างๆ
  • ควรใส่เครื่องหมายสากลหน้ากล่อง เพื่อความสะดวกปลอดภัยและมีความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายสินค้า
 
แหล่งที่มา : https://bit.ly/35FDjbX , https://bit.ly/3cgHrBz
 
 

Share This :

More News & Events :

See All News & Events

Why Join EASY DIRECTORY ?

Our members enjoy unparalleled business growth. As the world’s largest referral network,
BNI passed over 2 million referrals last year, resulting in more than ฿700 billion in business.